1. ขายกิ่งพันธุ์ อะโวคาโด เสียบยอดสูงประมาณ 45 ซม ขึ้นไป ต้นแข็งแรงติดผลไว มีพันธุ์บูท7 กับ พันธุ์ปีเตอร์สัน
อะโวคาโด้ เป็นไม้ยืนต้น ไม่ผลัดใบ ขนาด กลางถึงใหญ่ แม้ว่าจะถูกจัดเป็นไม้ไม่ผลัดใบแต่บางสายพันธุ์จะทิ้งใบช่วงสั้น ๆ ระหว่างออกดอก ทรงพุ่มอาจเป็นพุ่มต่ํา ทึบ สมมาตร หรือสูงชะลูด และไม่สมมาตร กิ่งเปราะ หักง่ายเมื่อโดนลม หรือเมื่อติดลูกมาก ๆ ใบ ใบยาว 3-6 นิ้ว รูปใบมีหลายแบบ ทั้งทรงรีรูปไข่ รีกว้างรูปไข่ และใบหอก ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ โดยมากใบอ่อนมักมีขน และสีออกแดง ส่วนใบแก่มักเรียบ สีเขียวเข้ม ดอก ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีทั้งเกสรตัวผู้และตัวเมีย สีเขียวอมเหลือง ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1-1.3 ซ ม ผล ผลมีเมล็ดขนาดใหญ่ หุ้มด้วยเนื้อผลที่มีลักษณะเหมือนเนย buttery pulp เปอร์เซ็นต์ไขมันในเนื้อมีตั้งแต่ 3-25 ผิวของเปลือกผล อาจเรียบหรือขรุขระ เมือสุกอาจเป็นสีเขียว ดํา ม่วง หรือ ออกแดงขึ้นกับสายพันธุ์ ทรงผล มีตั้งแต่ รูปทรงรี หรือคล้ายปีรามิด ผลโดยมากมักจะไม่สุกจนกว่าจะร่วง หรือถูกเด็ด ออกจากต้น โดยมาก การเก็บเกี่ยวผลจะดูจากช่วงเวลาและขนาดของผล เป็นหลัก ใบอะโวคาโด้ ดอกอะโวคาโด้ ผลอะโวคาโด้ การปลูกอะโวคาโด้ อะโวคาโด้ เป็นพืชชอบดินระบายน้ําดี ไม่ทนน้ําท่วมขัง ควรปลูกในที่ที่ไม่มีน้ําท่วมขัง หรือควรยกร่องปลูก ควรปลูกช่วงต้นฤดูฝน แต่สามารถปลูกได้ทั้งปี ถ้ามีระบบชลประทาน ระยะปลูก 8×6 เมตร ถึง 8×8 เมตร สําหรับพันธุ์ รูเฮิล Ruehle), ปีเตอร์สัน Peterson), แฮส Hass), และ บัคคาเนีย Buccanaer และ 8×10 สําหรับพันธุ์ บูธ 7 Booth 7), บูธ 8 Booth 8 และ ฮอล Hall) การปลูก ก่อนปลูกให้นําต้นพันธุ์ ออกไว้กลางแจ้ง เพื่อปรับสภาพสัก 2-3 วัน ขุดหลุมขนาดกว้างกว่าดินที่มากับต้นพันธุ์ เล็กน้อย นําต้นลงปลูกโดยให้โคนต้นสูงเท่ากับหรือสูงกว่าระดับผิวดินเล็กน้อย เพื่อป้องกันปัญหาโคนเน่า กลบดิน แล้วใส่ ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยโวก้าอินทรีย์ 1 กํามือ โรยบนดิน ค้ําต้นด้วยไม้ไผ่ ใช้ฟาง แกลบ หรือเศษไม้ คลุมรอบโคนต้น เพื่อรักษาความชุ่มชื้น ให้น้ําทุกวันวันละ 15 ลิตร หรือวันเว้นวัน วันละ 30 ลิตร จนถึงอายุประมาณ 1 ปี จึงลดการให้น้ําเหลือ สัปดาห์ละครั้ง สําหรับต้นใหญ่ให้น้ําทุก 15 วัน การป้องกันโคนต้นเน่า ให้ โรยสาร Super Voga บาง ๆ รอบโคนต้น อาจใช้ร่วมกับสารเคมี เมทเทลซิล Metalexyl 100 กรัม หรือ ไรโดมิล Ridomil 50 กรัม ต่อต้นทุก 3 เดือน หรือใช้ ชีวภัณฑ์ กลุ่ม ไตรโคเดอร์มา หรือ บาซิลลัส การให้ปุ๋ย ให้ปุ๋ย ไนโตรเจน N ฟอสฟอรัส P และโพแตสเซียม K ในอัตราส่วน 3-1-1 โดยผสมปุ๋ยยูเรีย 1 ส่วนต่อปุ๋ยสูตรเสมอ 15-15-152 ส่วน สลับกับปุ๋ยโวก้าอินทรีย์ ปริมาณปุ๋ยในปีแรก เริ่มให้หลังปลูก 2 เดือน ให้ปุ๋ย ต่อต้นประมาณ 200 กรัม ทุก 3 เดือน ปีที่ 2 ให้ 400 กรัม สําหรับ ปีที่ 3 หรือปีต่อ ๆ ไปซึ่งเป็นช่วงที่อะโวคาโดให้ผลผลิต ให้ปุ๋ย ปริมาณ 500 กรัม ช่วงต้นฝนกับกลางฝน ช่วงปลายฝน งดให้น้ํา เพื่อกระตุ้นให้เกิดการออกดอก การใส่ ปุ๋ยอินทรีย์โวก้า เสริมสารแอคทีฟซิลิคอน นั้นเป็นประโยชน์มากต่อต้นอะโวคาโด้ เนื่องจากแอคทีฟซิลิคอน จะถูกอะโวคาโด้ดูดเข้าไปสะสมตามผนังเซลของพืชทําให้ ต้นอะโวคาโด้ ต้านทานโรคเน่าได้ดีขึ้น นอกจากนี้ แอคทีฟซิลิคอนยังช่วย ปรับสภาพดินบริเวณรากให้ร่วนซุย ทําให้น้ํา อากาศถ่ายเทได้สะดวกขึ้นเป็นการป้องกันโรคเกี่ยวกับระบบรากอีกทางหนึ่ง สําหรับอะโวคาโด้ที่เสียบยอดนั้น ถ้าดูแลดีจะให้ผลผลิตตั้งแต่ปีที่ 3 ส่วนอะโวคาโด้เพาะเมล็ดจะให้ผลผลิตตั้งแต่ปีที่ 8 หากต้นยังไม่โตพอ ในช่วงปีแรก ๆ ควรปลิดผลทิ้งเพื่อเร่งการเจริญเติบโตทางต้นให้เต็มที่เสียก่อน การตัดแต่งกิ่ง เมื่ออะโวคาโด้มีความสูงเลยเข่าขึ้นมาให้ตัดยอดทิ้งให้เหลือแต่ตอ จะทําให้อะโวคาโด้แตกยอดขึ้นมาใหม่ 3-4 ยอด ในช่วงการเจริญเติบโต ให้ตัดกิ่งแห้ง เป็นโรค กิ่งทับซ้อนกัน กิ่งบังแสง กิ่งกระโดง ออก โดยเน้นให้แผ่ไปด้านข้าง และตัดให้ทรงต่ําเพื่อสะดวกในการเก็บเกี่ยว การตัดแต่งกิ่งจะทําอีกครั้ง หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว โดยตัดกิ่งแห้ง เป็นโรค และช่อของกิ่งผล ควั่น ที่ติดอยู่บนต้น หลังจากตัดแต่งกิ่งแล้วก็ให้ปุ๋ยโวก้าอินทรีย์ ร่วมกับปุ๋ยยูเรีย เพื่อบํารุงต้น โรคที่สําคัญในอะโวคาโด คือโรครากเน่า เมื่อเกิดแล้วบริเวณปลายกิ่งจะเหี่ยวจนถึงโคนต้น ป้องกันโดยการระบายน้ําให้ดี และใช้ต้นตอทนโรค คือพันธุ์ Duke-7 สําหรับกิ่งพันธุ์ในโรงเรือน ผสม เด็กซอน Dexon 20ppm ใส่ในน้ํารดกิ่งพันธุ์ อีกโรคคือ โรคแอนแทรกโนส ซึ่งเข้าทําลายได้ทั้งใบและผล จะสังเกตุได้จากจุดสีน้ําตาล บริเวณใบ การป้องกัน เมื่อมีการแตกใบอ่อนแล้วให้ฉีด คาร์เบนดาซิน หรือไซเปอร์เมททริน เพื่อป้องกันโรค แมลง การผสมเกสรของอะโวคาโด้ โดยปกติ ดอกของอะโวคาโด้เมื่อบานครั้งแรกจะยังไม่พร้อมผสมพันธุ์ แต่จะพร้อมผสมพันธุ์เมื่อบานครั้งที่ 2 เราสามารถแบ่งสายพันธุ์ อะโวคาโด้ ได้เป็น 2 กลุ่มตามลักษณะการบานของดอก คือ กลุ่ม
A: มีการบานของดอกคือจะบานครั้งแรกในตอนเช้า เกสรตัวเมียนั้น พร้อมรับละอองเกสร แต่ตัวเกสรตัวผู้นั้นไม่พร้อมผสม ดอกจะหุบในตอนเที่ยงและบานอีกครั้งในในตอนบ่ายวันรุ่งขึ้นเกสรตัวผู้และตัวเมียจึงพร้อมผสม ซึ่งใช้ระยะเวลาประมาณ 30 ชั่วโมง ค่อนข้างนาน ทําให้อะโวกาโดในกลุ่มนี้จึงติดผลยากได้แก่ พันธุ์แฮส Hass พิงค์เคอร์ตัน Pinkerton ปีเตอร์สัน Peterson ลูล่า(Lula มอนโร(Monroe ปากช่อง 1-14 ปากช่อง 2-4 ปากช่อง 2-6 เป็นต้น กลุ่ม
B: มีการบานของดอกคือจะบานครั้งแรกในตอนบ่าย เกสรตัวเมีย นั้นพร้อมรับละอองเกสร แต่ตัวเกสรตัวผู้นั้นไม่พร้อมผสม และดอกจะบานอีกครั้งในในตอนเช้าวันรุ่งขึ้น เกสรตัวผู้และตัวเมียจึงพร้อมผสม ซึ่งใช้ระยะเวลาประมาณ 12 ชั่วโมง ระยะเวลาสั้นกว่า ทําให้อะโวกาโดในกลุ่มนี้จึงติด ผลได้ค่อนข้าง ดีกว่า ได้แก่ พันธุ์ บัคคาเนีย Buccanaer บูธ 7 Booth 7 บูธ 8 Booth 8 เฟอร์เต้ Fuerte ฮอล Hall รูเฮิล Ruehle)ปากช่อง 2-8 ปากช่อง 2-5 ปากช่อง 3-3 เป็นต้น การผสมพันธุ์ในต้นเดียวกันจะใช้ลมเป็นหลัก ส่วนการผสมข้ามต้นจะใช้แมลง เช่นผึ้ง มดตะนอย เป็นหลัก หากต้องการเพิ่มการติดผลของอะโวคาโด้ โดยเฉพาะสายพันธุ